โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) เป็นโรคที่สร้างความท้าทายเป็นอย่างมากในการรักษา และเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต ในปัจจุบันมียาแอนตี้ไวรัส 2 ตัวที่เป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง นั่นก็คือ GS-441524 และ โมโนพิราเวียร์ (Monulpiravir) เป็น 2 ทางเลือกการรักษาที่นิยิมใช้ และได้รับการยอมรับในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้สัตวแพทย์มีทางเลือกในการรักษา เพื่อให้น้องแมวต่อสู้กับโรคร้ายนี้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นยาแอนตี้ไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็มีกลไกการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้เราจะเปรียบเทียบทางเลือกการรักษาให้เห็นถึงแง่มุมการทำงานต่างๆของยา และประสิทธิภาพที่จะได้รับในการรักษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนการรักษาน้องแมวของคุณ
GS-441524 vs. Molnupiravir:
| GS-441524 | Molnupiravir |
วิธีการรักษา | หยุดการกระจายตัวของไวรัส FIP | หยุดการกระจายตัวของไวรัส FIP |
วิธีการใช้ | แบบทาน และแบบฉีด | แบบทาน |
อัตราความสำเร็จในการรักษา | ~90% | ~60% |
เหมาะสำหรับ | FIP ทุกรูปแบบ | FIP ที่ตรวจพบเร็วก่อนแสดงอาการ |
ความปลอดภัยในการใช้ | ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน | การให้ในโดสที่สูงมาก อาจทำให้ตับเสียหายได้ |
ความถี่ในการใช้ | ฉีดวันละ 1 เข็ม หรือ ทานวันละเม็ด | ทานวันละ 2 เม็ด (2 เวลา) |
ประสิทธิภาพ | เริ่มฟื้นตัวภายใน 1 สัปดาห์แรก | เริ่นฟื้นตัวในช่วงสัปดาห์ที่ 2-3 ของการรักษา |
อัตราการกลับมาเป็นซ้ำ | ~3% | ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด (ไม่มีงานวิจัยรองรับ) |
ราคา | ราคาสูงกว่า | ราคาถูก |
สรุป
ทั้ง GS-441524 และ โมโนพิราเวียร์ (Monulpiravir) สามารถรักษาโรค FIP ได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม GS-441524 ใช้ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับ โมโนพิราเวียร์ ไม่ว่าจะเป็น อัตราความสำเร็จในการรักษา, การฟื้นตัวที่เร็วกว่า, และวิธีการรักษาที่เป็นที่ใช้และยอมรับในวงกว้าง ถ้ากล่าวถึงโมโนพิราเวียร์ก็มักจะเป็นทางเลือกที่ประหยัด และต้นทุนต่ำกว่า การเลือกใช้ GS-441524 แม้ว่าอัตราความสำเร็จในการรักษาจะต่ำกว่า และมีข้อจำกัดในการใช้งานก็ตาม
แมวที่เอาชนะ FIP เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Line:Basmifip
Comments