top of page

คำถามที่พบบ่อย FIP​

1. โรค FIP เกิดจากอะไร 

FCoV หรือ เชื้อไวรัสโคโรน่าในแมว เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่สามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำลาย อุจจาระ และปัสสาวะของแมวที่ติดเชื้อ และสามารถแพร่เชื้อไปยังแมวตัวอื่นได้ผ่านการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัส และสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว (FIP) ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากในแมว

2.โรค FIP ติดต่อในแมวได้อย่างไร?

การแพร่เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือการสัมผัสกับอุจจาระของแมวที่ติดเชื้อ แมวที่มีสุขภาพดีสามารถรับไวรัสได้โดยการเลียหรือกลืนไวรัสที่พบในกระบะทรายหรือบนพื้นผิวที่ปนเปื้อนอุจจาระไวรัส FIP สามารถแพร่เชื้อผ่านอนุภาคและละอองลอยในอากาศได้ ไวรัสสามารถแพร่กระจายในอากาศได้เมื่อแมวที่ติดเชื้อจามหรือไอ และเป็นไปได้ที่แมวตัวอื่นจะสูดไวรัสเข้าไปได้ในบางกรณีที่พบได้น้อย ไวรัสสามารถแพร่จากแม่ที่ติดเชื้อไปยังลูกในครรภ์หรือผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่​คน สิ่งของ หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ที่ได้สัมผัสกับแมวที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังแมวที่มีสุขภาพดีได้ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงควรล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงของคุณ และรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดอยู่เสมอ

 

3.FIP ของแมวติดคนหรือไม่?
คนไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับโรค FIP เพราะโรค FIP ไม่ใช่โรคที่ติดต่อในคน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องปฏิบัติตามกฎสุขอนามัยเสมอและจำกัดโอกาสหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงของคุณ

4.เชื้อไวรัสโคโรนาในแมว (FCoV) และ FIP ต่างกันอย่างไร?
เชื้อไวรัสโคโรนาในแมว (FCoV) เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในแมวและมักทำให้เกิดอาการเบา ๆ แต่ FIP เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของ FCoV ในร่างกายของแมว

5.แมวในบ้านที่มีแมวป่วยเป็น FIP มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือไม่?
แมวตัวอื่นในบ้านมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ FCoV จากแมวที่ติดเชื้อ แต่ไม่ใช่ทุกตัวที่จะพัฒนาเป็น FIP การกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิด FIP 

6.การวินิจฉัยโรค FIP ทำได้อย่างไร?
การวินิจฉัยโรค FIP สามารถทำได้จากข้อมูลต่าง ๆ เช่น การตรวจทางคลินิก ผลการตรวจเลือด การทดสอบการวิเคราะห์น้ำในช่องท้อง และข้อมูลอาการ

7.อาการเบื้องต้นของโรค FIP คืออะไร?
อาการเบื้องต้นได้แก่ ท้องบวม น้ำหนักลด มีไข้ไม่ตอบสนองต่อยาแบบปฏิชีวนะ

8.แมวเป็น FIP อยู่ได้นานไหม?
แมวที่เป็น FIP มักจะมีอายุไม่ได้นานหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากไม่ได้รับการรักษา FIP เป็นโรคร้ายแรงและมักทำให้แมวเสียชีวิตในระยะเวลาสั้น

​9.อาหารที่ควรให้แมวในระหว่างการรักษา

ปลา, ไก่ และอาหารสดอื่นๆที่ปรุงสุก ถ้าแมวของคุณมีอาการท้องเสียให้ทำการเปลี่ยนมาให้อาหารเม็ดสัก 2-3 วันจนกว่าอาการท้องเสียจะหายไป

 

10.ระยะเวลาการรักษา

ระยะเวลาที่แนะนำคือ 12 สัปดาห์(84 วัน) อย่างไรก็ตามระยะเวลาการรักษาของแต่ละเคสไม่เท่ากันอาจจะมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยเช่น การตอบสนองของแมว, ระยะที่ติดเชื้อจาก FIP, งบประมาณค่าใช้จ่าย, ฯลฯ

 

11.สามารถใช้ GS-441524 ร่วมกับยาอื่นๆได้หรือไม่

สามารถใช้ GS-441524 ร่วมกับยาบำรุงและอาหารเสริมอื่นๆได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแมว อย่างไรก็ตามเราไม่แนะนำให้ใช้ L-Lysine  และ ยาดกลุ่มกระตุ้นภูมิ (beta glucan ) ร่วมกับ GS-441524 

 

12.สามารถใช้ Interferon สำหรับรักษา FIP ได้หรือไม่

Interferon เป็นยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถลดอาการจากโรค FIP โดยลดการตอบสนองของร่างกายแมวต่อการติดเชื้อของไวรัส FIP อย่างไรก็ตามมันไม่ได้กำจัดไวรัส FIP ออกไป มันทำให้ร่ายกายของแมวไม่ตอบสนองต่อไวรัส ดังนั้นจึงสามารถใช้ Interferon เพื่อลดความเจ็บปวดได้ แต่ไม่สามารถใช้ Interferon อย่างเดียวเพื่อการรักษา FIP ได้

 

13.น้ำหนักของแมวที่เพิ่มขึ้นและปริมาณการใช้ยา

เมื่อแมวของคุณเริ่มฟื้นตัวความอยากอาหารก็จะกลับมาปกติและน้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ปรึกษากับสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อชั่งน้ำหนักแมวของคุณสัปดาห์ละครั้งและปรับปริมาณการให้ยา

การใช้ยาแบบฉีด​

1.ปริมาณยา GS-441524 ในแต่ละขวด

ในแต่ละขวดจะมีปริมาณยา 8   ml

 

2.ทำไมถึงมี 3 ความเข้มข้น

ความเข้มข้นที่มากจะเหมาะกับแมวที่มีน้ำหนักมากและตัวใหญ่ ซึ่งจะทำให้ปริมาณที่ฉีดน้อยลง

 

3.จะต้องฉีดเท่าไหร่และฉีดกี่ครั้ง

ฉีดวันละ 1 ครั้งตลอด 12 สัปดาห์  (84 วัน) ปริมาณยาที่ฉีดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแมว

 

4.ปริมาณที่ฉีดคำนวณอย่างไร

สามารถใช้เครื่องคำนวณของเราได้ที่นี่ "คำนวณปริมาณยา"

 

5.วิธีการฉีดยาทำอย่างไร

วิธีการฉีดคือฉีดใต้ผิวหนัง สามารถดูวิธีการฉีดได้ที่นี่ "วิดีโอ"​​

 

6.วิธีการเก็บรักษา

เก็บยาให้พ้นแสงแดด ในอุณหภูมิห้องปกติ   ตัวยาถูกทดลองมาในอุณหภูมิเกิน   60  องศา  

ถ้านำไปแช่เย็น  จะมีโอกาสเกิดผลึกคริสตัลในยา 

กรณีที่เปิดฝาแล้ว เก็บได้ไม่เกิน 3 สัปดาห์ กรณีที่ยังไม่ได้เปิดฝา สามารถเก็บได้ 2 ปี

การใช้ยาแบบแคปซูล

​1.สามารถเริ่มใช้ยาแบบแคปซูลได้เมื่อไหร่

เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด ควรเริ่มใช้หลังจากใช้ยาแบบฉีดต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 30 วัน และแมวควรอยู่ใน     สภาพปกติคือ ทานและขับถ่ายได้ตามปกติ และไม่มีอาการของ FIP แบบ Neurological หรือ Ocular   

 

2.อาการที่ไม่ควรใช้ยาแบบทาน

ห้ามใช้เมื่อแมวของคุณเป็น FIP แบบที่ไวรัสเข้าไปที่ดวงตาหรือระบบประสาท

ห้ามใช้เมื่อแมวของคุณมีอาการอาเจียน ท้องเสีย หรือมีไข้ ต่อเนื่องตั้งแต่ตอนใช้ยาแบบฉีด

ห้ามใช้เมื่อแมวของคุณอายุน้อยกว่า 1 ปีและยังคงมีของเหลวอยู่ภายใน(สำหรับรูปแบบเปียก)

 

3.วิธีการเลือกใช้ยาตามชนิดและน้ำหนัก

น้ำหนัก 0 - 2.49 กิโลกรัม เลือกใช้สีชมพู

น้ำหนัก 2.5 - 3.99 กิโลกรัม เลือกใช้สีเขียว

น้ำหนัก 4 กิโลกรัมขึ้นไป เลือกใช้สีน้ำเงิน

 

4.ปริมาณที่ควรให้ทานต่อวัน

ปริมาณที่เหมาะสมต่อวันคือ 1 เม็ดเวลาเดิมทุกวัน ห้ามข้ามโดยเด็ดขาด ให้ต่อเนื่องจนครบ 84 วันนับต่อหลังจากฉีดยา หรือจนกว่าแมวจะหายดี

 

5.หากแมวน้ำหนักเพิ่มขึ้นแต่ยายังไม่หมด

ในกรณีเราแนะนำให้ซื้อยาที่เหมาะสมกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการรักษา

 

6.ยาแบบแคปซูล 1 ขวดสามารถใช้ได้กี่วัน

ยา 1 ซองมีจำนวน 30  แคปซูล ซึ่งสามารถใช้ได้ 30 วัน(วันละแคปซูล)

 

7.ถ้าหากอาการแย่ลงหลังเริ่มใช้ยาแบบแคปซูลควรทำอย่างไร สามารถให้ยาเพิ่มจาก 1 เป็น 2 แคปซูลได้หรือไม่

สาเหตุที่อาการของแมวแย่ลงมาจากระบบการดูดซึมอาหารและการขับถ่ายของแมวนั้นยังไม่สมบูรณ์ดี เราแนะนำให้ทานยาต่อเนื่องอีก 5 วันเพื่อสังเกตุอาการ หากผ่านมา 5 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น สามารถปรับเพิ่มปริมาณยาจาก 1 เป็น 2 แคปซูลได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการกลับไปใช้ยาแบบฉีด เนื่องจากการดูดซึมผ่านทางอาหารของแมวไม่ปกติดี

 

8.จะรู้ได้อย่างไรว่าปริมาณ GS-441524 ที่แมวจะได้รับคือเท่าไหร่

แมวแต่ละตัวมีความสามารถในการดูดซึมต่างกัน เราจะสามารถทราบว่าแมวของเราดูซึมได้มากน้อยแค่ไหนจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ที่ เรียกว่า HPLC ซึ่งมีความยุ่งยากและราคาสูงมากๆ

 

9.ระหว่างยาแบบฉีดกับแบบแคปซูล แบบไหนดีกว่ากัน

ยาทั้งสองแบบนั้นมีความสามารถเท่ากัน และจุดประสงค์ในการรักษาเหมือนกันคือ รักษาให้หายจากโรค FIP ปัจจัยที่จะตัดสินได้ว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับการดูดซึมของแมว                                                 

ยกตัวอย่าง แมวเคยใช้ยาแบบฉีดมาแล้ว 30 วันอาการดีขึ้น และเริ่มต่อต้านการฉีดยา จึงเปลี่ยนมาใช้ยาแบบทาน แต่หลังจากเริ่มใช้อาการแย่ลง อันมีสาเหตุมาจากระบบการดูดซึมอาหารของแมวตัวนี้ไม่ปกติ ซึ่งจากเคสนี้ข้อสรุปก็คือแบบฉีดย่อมดีกว่า

แต่ในกรณีกลับกันถ้าแมวตัวนี้เริ่มใช้ยาแบบทานแล้วอาการดีขึ้น แมวก็ไม่ต้องเจ็บจากการฉีดยา ถ้าเป็นแบบนีแน่นอนว่าแบบทานดีกว่า

 

10.สามารถกลับไปใช้ยาแบบฉีดได้หรือไม่สามารถทำได้

เพียงแต่ว่า Dosage จะต้องเริ่มจาก 10mg/kg เนื่องจากปริมาณ GS-441524 ในแคปซูลมีมากกว่า

 

11.หากแมวมีอาการกำเริบหลังจากรักษาจบสามารถใช้ยาแบบแคปซูลได้หรือไม่

เราไม่แนะนำให้ใช้ยาแบบทานในแมวที่เกิดอาการกำเริบ แต่เราแนะนำให้เริ่มจากการรักษาแบบฉีดก่อนโดยเริ่มที่ 12-15mg/kg หลัง จาก 30 วันแล้วค่อยเริ่มใช้ยาแบบทาน

 

12.สามารถเลือกใช้ยาแบบอื่นๆที่นอกเหนือจากน้ำหนักของแมวได้หรือไม่

สามารถทำได้แต่ห้ามเลือกใช้ยาชนิดที่น้ำหนักต่ำกว่า เพราะปริมาณ GS-441524 จะไม่เพียงพอ

 

13.ทำไมยาแบบแคปซูลถึงแพงกว่า

สาเหตุมาจากปริมาณ GS-441524 ต้นทุนการผลิตและปริมาณ GS-441524 นั้นมีราคามากกว่า จึงทำให้ราคาสูงกว่ายาแบบฉีด

 

14.การใช้ยาแบบทานมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

จากการวิจัยล่าสุด ตัวยาแบบทานไม่มีผลข้างเคียงอะไร รวมไปถึงการใช้ร่วมกันกับยาปฏิชีวนะต่างๆก็ไม่มีผลข้างเคียงอะไรเช่นเดียวกัน

 

15.จำเป็นจะต้องให้ทานเวลาเดียวกันตลอดเลยหรือไม่

เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุดควรจะให้เวลาเดิมทุกวัน แต่หากจำเป็นสามารถให้ได้ +- 1 ชั่วโมงครึ่ง เช่น เดิมเริ่มต้นที่ 6 โมงเย็น ก็สามารถให้ได้ตั้งแต่ 4 โมงครึ่งไปจนถึง 2 ทุ่มครึ่งได้

 

16.สามารถขอ Refund ยาที่เหลือได้หรือไม่

ขออภัย เราไม่สามารถ Refund สำหรับยาที่ยังไม่ได้เปิดใช้ในทุกกรณี

bottom of page